ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประชัย เลี่ยวไพรัตน์

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ (28 สิงหาคม พ.ศ. 2487 — ) อดีตหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย อดีตเลขาธิการพรรคประชาราช เป็นผู้ก่อตั้งและอดีตผู้บริหารบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ(ปัจจุบันคือ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)) และบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอโพลีน

เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ที่จังหวัดสระบุรี ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเวลาหนึ่งปี ก่อนจะได้รับทุนโคลัมโบไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแคนเทอเบอรี่ ประเทศนิวซีแลนด์ และจบปริญญาโทวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา

หลังจบการศึกษา ประชัยได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ 1 ปี จากนั้นจึงเข้ามารับช่วงธุรกิจค้าอาหารสัตว์ของครอบครัว และบริหารธุรกิจค้าข้าวจนเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ 1 ใน 5 ของประเทศ และขยายเข้ามาสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี พลาสติก และปูนซีเมนต์

ประชัยก่อตั้งบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ ขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน มีศักยภาพผลิตน้ำมันได้ 215,000 บาร์เรลต่อวัน ด้วยเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจร เปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่จังหวัดระยอง ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2525 นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้า โครงการผลิตคาโปรแลกตัม และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ

ในปี พ.ศ. 2532 ประชัยก่อตั้งบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) ก่อสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และออกหุ้นกู้ ระดมเงินจากต่างประเทศ เพื่อมาขยายกำลังการผลิตปูนซีเมนต์อย่างต่อเนื่อง จากกำลังการผลิต 78000 ตันในปี 2533 เป็น 9.0 ล้านตันในปี 2540

ในปี พ.ศ. 2535 ทีพีไอได้ขอกู้เงินลงทุนจากสถาบันการเงินกว่า 150 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อมาขยายกิจการธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจร แต่หลังจากรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และสั่งระงับการดำเนินกิจการสถาบันการเงิน 58 แห่ง ส่งผลให้ทีพีไอขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีกว่า 69,261 ล้านบาท มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นถึง 133,643.82 ล้านบาท หรือประมาณ 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ทีพีไอเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

ทีพีไอได้เสนอขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ โดย ธนาคารกรุงเทพที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ได้รวมตัวกับเจ้าหนี้รายอื่นๆ ในนาม คณะกรรมการเจ้าหนี้ เพื่อทำหน้าที่ในการเจรจาการปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 ศาลล้มละลายกลางประกาศแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ คือ บริษัท แอฟแฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ หรือ อีพี ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินของคณะกรรมการเจ้าหนี้

อีพี ได้มีการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลักของทีพีไอ ทั้งกิจการท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้า และที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรมทีพีไอ ลดกำลังการผลิตน้ำมันจาก 125,000 บาร์เรลต่อวัน ให้เหลือเพียง 65,000 บาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ทีพีไอไม่มีรายได้เพียงพอในการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้ รวมทั้งยังมีการแปลงหนี้ดอกเบี้ยค้างชำระของทีพีไอที่มีต่อเจ้าหนี้ให้เป็นหุ้นใหม่แก่เจ้าหนี้ และเจ้าหนี้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทถึง 75%

ประชัยได้ฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางว่า ผู้บริหารแผนฟื้นฟูได้ใช้เงินของบริษัทเป็นค่าตอบแทนถึง 1,779 ล้านบาท โดยที่บริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้อีพี พ้นจากการเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2546

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ศาลล้มละลายกลางประกาศแต่งตั้งกระทรวงการคลัง เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูชุดใหม่ ประกอบด้วย พลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นประธาน, ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา, พละ สุขเวช, ทนง พิทยะ และ อารีย์ วงศ์อารยะ

แนวทางการฟื้นฟูของกระทรวงการคลังคือ นำรัฐวิสาหกิจในเครือเข้ามาถือหุ้นเพิ่มทุน ประกอบด้วย ปตท. เข้ามาถือหุ้น 31.5% และธนาคารออมสิน กบข. และกองทุนวายุภักษ์ 1 ถือหุ้น 10% ในขณะที่ทางฝ่ายนายประชัยได้พยายามซื้อหุ้นคืน โดยได้ความสนับสนุนจากซิติก กรุ๊ป (China International Trust & Investment Corp.) รัฐวิสาหกิจจากประเทศจีนเข้ามาซื้อหุ้น โดยฝ่ายนายประชัยเสนอที่จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทันที 2,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ศาลฎีกามีคำตัดสินว่าประชัยไม่มีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนก่อนกลุ่มปตท. ส่งผลให้ ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ทีพีไอ ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งให้ทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 และมีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมมีมติให้ปลดนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ออกจากทุกตำแหน่งในบริษัท ถือเป็นการสิ้นสุดของอำนาจการบริหารในทีพีไอ ที่ประชัยเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น

ภายหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ประชัยได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาราช พร้อมกับได้ยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด แต่ว่าในกลางปี พ.ศ. 2550 ก็ได้กลับมารับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรคประชาราชอีก และเป็นประธานคณะกรรมการบริหารพรรค มีอำนาจสามารถปลดหัวหน้าพรรคได้ ซึ่งนับว่าเป็นตำแหน่งใหม่ทางการเมืองไทย

แต่ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550 นายประชัย ได้แถลงข่าวลาออกพร้อมกับสมาชิกพรรคส่วนหนึ่ง เนื่องจากอ้างว่าแนวทางทางการเมืองไม่อาจไปด้วยกันได้กับนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรค พร้อมกับได้ไปรวมกลุ่มกับกลุ่มมัชฌิมาของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ก่อตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาคือ พรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมีนายประชัยเป็นหัวหน้าพรรค

ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายประชัย ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา เนื่องจากคดีปั่นหุ้นพร้อมกับนายเชียรช่วง กัลยาณมิตร เลขาธิการพรรคประชาราช แต่นายประชัยได้ประกันตัวออกมาและสู้คดีต่อไปในศาล วันที่ 4 ธันวาคม นายประชัยได้แถลงข่าวลาออกจากหัวหน้าพรรคและยื่นใบลาออกจากพรรค แต่ทางสมาชิกพรรคและผู้สนับสนุนเรียกร้องให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคต่อ วันที่ 6 ธันวาคม นายประชัยประกาศอีกครั้งว่า จะขอเป็นหัวหน้าพรรคต่อไป

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน เขตเลือกตั้งที่ 6 สังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือก

ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติให้นายประชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยวินิจฉัยว่า ใบลาออกของนายประชัยตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม มีผลสมบูรณ์แล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย

ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ • อนงค์วรรณ เทพสุทิน • เชียรช่วง กัลยาณมิตร • ฐานิสร์ เทียนทอง • พรพิศ โกศลจิตร


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406